Page 6 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 6
ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์ 1
บทน ำ
บรรพบุรุษของชาวไทยอีสานส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือชาวลาวจาก
ฝั่งซ้ายแม่น้้าโขง ซึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบสูงโคราช
เรียกช่วงเวลานี้ว่า “ยุคร่วมสมัยวัฒนธรรมไทยลาว” ที่ปรากฏในดินแดน
1
อีสานรวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 มีชาวลาวจ้านวน
มากอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นอย่างกว้างขวางใน
ดินแดนอีสาน ด้วยเหตุของความขัดแย้งแตกแยกภายในเมืองเวียงจันทน์
โดยสมัยนั้นผู้น้าลาวที่มีทั้ง เชื้อพระวงศ์ ผู้น้าทางศาสนา และกรมการเมือง
ได้พาไพร่พลอพยพหลบหนีออกจากเมืองเวียงจันทน์ ประกอบด้วย
ชาวลาว 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพระนางสุมังคละและพระครูโพนเสม็ด
2
กลุ่มพระวอพระตา และกลุ่มเจ้าโสมพะมิต
• กลุ่มพระนางสุมังคละและพระครูโพนเสม็ด ครั้นพระนาง
สุมังคละเป็นพระมเหสีของเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เจ้าผู้ครองเมือง
เวียงจันทร์ขณะนั้น เมื่อพระราชสวามีสวรรคต พระนางได้ถูกบังคับให้เป็น
ชายาในเจ้าเมืองพระองค์ใหม่ พระนางจึงตัดสินใจเสด็จหนีลี้ภัยไปพึ่งใบบุญ
พระครูโพนเสม็ดทั้งที่ยังทรงพระครรภ์อยู่ ภายหลังได้อพยพไพร่พลลงไป
ตามล้าน้้าโขงจนถึงเมืองจ้าปาศักดิ์ ในเวลาต่อมาพระราชโอรสของพระนาง
สุมังคละได้เสด็จขึ้นคลองราชสมบัติที่เมืองจ้าปาศักดิ์ พระนามว่า
“เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” พระองค์ได้ทรงส่งเจ้าแก้วหรือจารย์แก้ว
มาปกครองเมืองชายแดนของจ้าปาศักดิ์ และได้ขยายอาณาเขตตั้งเมืองทุ่ง
ต่อมาคือเมืองสุวรรณภูมิและขยายออกเป็นเมืองร้อยเอ็ดและเมือง
มหาสารคาม
1 จาก วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาจังหวัด
กาฬสินธุ์ (น. 55), โดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542, กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์คุรุสภา.
2 จาก พระราชวงศ์จักรีกับ 200 ปี กาฬสินธุ์ (น. 38), โดย จังหวัดกาฬสินธุ์, 2536,
ยโสธร: จือฮะการพิมพ์ยโสธร.