Page 8 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 8

ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์  3

                   • กลุ่มพระวอพระตา อพยพไพร่พลจากเมืองเวียงจันทน์มาตั้ง

            เมืองหนองบัวล้าภู และได้เคลื่อนย้ายลงมารวมกับกลุ่มเมืองจ้าปาศักดิ์
            ต่อมาได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีกับเมืองยโสธร กลุ่มนี้มีความส้าคัญที่ท้าให้
            กรุงธนบุรีแผ่อ้านาจเข้าควบคุมอีสานทั้งหมด รวมทั้งอาณาจักรล้านช้าง
                   • กลุ่มเจ้าโสมพะมิตร อพยพมาไพล่พลจากเมืองเวียงจันทน์

            ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับกลุ่มพระวอพระตา แต่ได้ไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณ
            บ้านผ้าขาวพันนา (เขตจังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน) ต่อมาอพยพข้าม
            เทือกเขาภูพานมาตั้งบ้านกลางหมื่น จากนั้นเคลื่อนย้ายมาอยู่บริเวณ
            แก่งส้าโรง ดงสงเปือย ริมน้้าปาว และเป็นที่ตั้งของเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน


                                                          เจ้ำโสมพะมิตร


                    เจ้าโสมพะมิตร บางเอกสารสะกดว่า เจ้าโสมพมิตร หรือ เจ้าโสภมิด
                                              1
            หรือ ท้าวโสมพมิตร หรือ พระยาสมพมิต  มีเอกสารที่กล่าวถึงการเกิดของ
            เจ้าโสมพะมิตรไว้แตกต่างกันว่า เจ้าโสมพะมิตรเป็นบุตรของโอรสพระเจ้า
            ไชยองค์เว้กับหลานสาวเจ้าผ้าขาว บ้างกล่าวว่า เป็นบุตรของหลานสาว
                                         2
                                                       3
            เจ้าผ้าขาวที่ตั้งครรภ์กับโอรสพระเจ้านครเวียงจันทน์ บ้างอธิบายว่า เป็นโอรส
            ของพระเจ้าไชยองค์เว้ซึ่งเกิดกับหลานสาวของเจ้าผ้าขาว  ด้วยเป็นเชื้อสาย
                                                           4
            ของเจ้าผ้าขาว จึงเรียกขานอีกนามว่า เจ้าผ้าขาวโสมพะมิตร และด้วยมี
            เชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ จึงใช้ค้าว่า “เจ้า” น้าหน้านามต่างจากเจ้าเมืองอื่น


                    1  “เจ้าโสมพมิตร” ที่มา: เติม วภาคย์พจนกิจ, 2557. / “เจ้าโสภมิด” ที่มา: ธีระ พิมพะ
            นิตย์, 2544. / “ท้าวโสมพมิตร” ที่มา: ปฐม คเนจร, ม.ร.ว., 2539. / “พระยาสมพมิต” ที่มา: บุญมี
            ภูเดช, 2525. / “เจ้าโสมพะมิต” ที่มา: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542.
            “เจ้าโสมพะมิตร” ที่มา: อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร).
                    2  จาก พระราชวงศ์จักรีกับ 200 ปี กาฬสินธุ์ (น. 40), โดย จังหวัดกาฬสินธุ์, 2536,
            ยโสธร: จือฮะการพิมพ์ยโสธร.
                    3  จาก ประวัติศาสตร์อีสาน (น. 198), โดย เติม วภาคย์พจนกิจ, 2557, กรุงเทพฯ:
            ส้านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 5.
                    4  จาก วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาจังหวัด
            กาฬสินธุ์ (น. 59), โดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542, กรุงเทพฯ:
            โรงพิมพ์คุรุสภา.
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13