Page 27 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 27
22 ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
3) อ าเภอกมลาไสย มีประวัติความเป็นมาในสมัยเดียวกันกับที่
เจ้าโสมพะมิตรตั้งเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2336 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งพระยาชัยสุนทรเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรก ผู้ครองเมืองกาฬสินธุ์
จึงได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาชัยสุนทรติดต่อกันมาหลายคน จนมาถึงพระยา
ชัยสุนทรคนที่ 7 ท้าวกิ่ง ประมาณปี พ.ศ. 2396 มีราชวงศ์เกษเป็นว่าที่
อุปราช ต่อมาพระยาชัยสุนทร (กิ่ง) กับท้าวหนูซึ่งเป็นลูกชาย ได้เข้าเฝ้า
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อรับพระราชทาน
สัญญาบัตรในการเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และขอพระราชทานให้เท้าหนูเป็น
ว่าที่อุปราช ซึ่งก็ได้รับพระราชทานตามที่พระยาชัยสุนทร (กิ่ง) ทูลขอ
จากการทูลขอตั้งอุปราชหนูท้าให้เกิดความบาดหมางแตกแยกขึ้น
ระหว่างพระยาชัยสุนทรพร้อมอุปราชหนูฝ่ายหนึ่ง กับราชวงศ์เกษ
อีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยเหตุความไม่พอใจในการตั้งอุปราชเมืองกาฬสินธุ์
ครั้นประมาณปี พ.ศ. 2460 พระยาชัยสุนทรกับราชวงศ์เกษจึงขอเข้าเฝ้า
รัชกาลที่ 4 ขอแยกออกจากเมืองกาฬสินธุ์และไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางทิศใต้
เมืองกาฬสินธุ์ริมแม่น้้าปาว ห่างจากเมืองเดิมประมาณ 13 กิโลเมตร
ที่ตั้งเมืองเป็นดงใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิด และ
มีต้นมะขามใหญ่เป็นจ้านวนมากผู้คนจึงเรียกกันว่าดงขามเฒ่า นอกจากนั้น
ยังมีหนองน้้าที่มีบัวนานาชนิด รัชกาลที่ 4 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ตั้ง
เมืองขึ้นบริเวณที่เรียกว่าปากน้้าดอกไม้ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้้าปาว และ
แต่งตั้งรางวงศ์เกษเป็นพระราษฎรบริหาร (เกษ) ขึ้นเป็นเจ้าเมือง
กมลาไสยคนแรก และให้เมืองสหัสขันธ์และเมืองกุดสิมนารายณ์ขึ้นต่อ
เมืองกมลาไสย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองโดยแบ่งเป็นกระทรวง
ในส่วนภูมิภาคหัวเมืองใหญ่ตั้งเป็นมณฑล ท้าให้เมืองกมลาไสยมีฐานะเป็น
อ้าเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดอุบลราชธานี แล้วขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด
จนกระทั่งเปลี่ยนการปกครองอีกครั้งในปี พ.ศ. 2490 เปลี่ยนมณฑลเป็น
จังหวัดและย้ายอ้าเภอกมลาไสยขึ้นต่อจังหวัดกาฬสินธุ์มาจนถึงปัจจุบัน