Page 25 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 25
20 ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2443 ได้มีการเปลี่ยนชื่อมณฑลอีกครั้ง กล่าวคือ มณฑล
ตะวันออกเฉียงเหนือเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน มณฑลฝ่ายเหนือเปลี่ยนเป็น
มณฑลอุดร จากนั้นรัฐบาลกลางได้จัดแบ่งกลุ่มหัวเมืองในแต่ละมณฑล
เรียกว่า “บริเวณ” ส้าหรับบริเวณในมณฑลอีสาน มี 5 บริเวณ คือ 1) บริเวณ
อุบลราชธานี 2) บริเวณจ้าปาศักดิ์ 3) บริเวณขุขันธ์ 4) บริเวณสุรินทร์ และ
5) บริเวณร้อยเอ็ด ซึ่งเมืองกาฬสินธุ์สังกัดอยู่ในบริเวณร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2451 ยกเลิกการปกครองแบบบริเวณ แล้วเปลี่ยนมาปกครอง
แบบจังหวัดขึ้นในมณฑลอีสาน เมืองในสังกัดประกอบด้วย เมืองร้อยเอ็ด
เมืองมหาสารคาม เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ และเมืองกมลาไสย
พ.ศ. 2455 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 มีการตั้งมณฑลใหม่ โดยแบ่งเขตการปกครองจากมณฑลอีสาน
เดิมออกเป็น 2 ส่วน คือ มณฑลอุบลราชธานี และ มณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งเมือง
กาฬสินธุ์สังกัดอยู่ในบริเวณร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2468 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระป ก เกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่้าและมีผลกระทบต่อประเทศไทยเป็น
อย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเขตการปกครองโดยให้มีการ
รวมมณฑลเข้าด้วยกัน ยุบรวมจังหวัด อ้าเภอ ต้าลบ เพื่อให้เกิดความ
เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของบ้านเมืองในขณะนั้น ดังนั้น มณฑล
ร้อยเอ็ดจึงถูกยุบ และจังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกสังกัดอยู่กับมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอ้าเภอหลุบ ขึ้นกับจังหวัด
มหาสารคาม ภายใต้การปกครองของมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2490 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล-
อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อ้าเภอหลุบ
ได้รับการยกฐานะให้กลับขึ้นมาเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ และท้าราชการขึ้นตรง
ต่อกระทรวงมหาดไทย จนถึงปัจจุบัน
1 จาก วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาจังหวัด
กาฬสินธุ์ (น. 107-115), โดย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542,
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.