Page 18 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 18
ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์ 13
ระเบียบสังคมของหัวเมืองกำฬสินธุ์
สมัยเริ่มตั้งเมืองกาฬสินธุ์ สภาพสังคมสมัยนั้นไม่ซับซ้อนเพราะเป็น
ชุมชนขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประชากรจ้านวนไม่มาก สามารถ
1
จัดระเบียบแบ่งเป็นชนชั้นได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
1) ชนชั้นผู้ปกครอง ยึดแบบแผนการปกครองตามกรุงศรีสัตนา-
คนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ (อาญาสี่) (ปรากฎในหัวข้อการปกครองของหัวเมือง
กาฬสินธุ์ข้างต้น)
2) ชนชั้นผู้ถูกปกครอง เรียกรวมกันว่า เลก หรือ ไพร่ เลกหัวเมือง
กาฬสินธุ์ในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนที่จะมีการสักเลกใน พ.ศ. 2367
นั้น ยังไม่สามารถแยกประเภทตามหน้าที่และลักษณะได้อย่างชัดเจนนัก
ชายฉกรรจ์จัดเป็นเลกที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้แก่ชนชั้นผู้ปกครอง เช่น
เลี้ยงม้า ท้านา เป็นต้น แต่ถ้าไม่สามารถท้างานให้แก่มูลนายได้ เลกเหล่านี้ก็
สามารถส่งสิ่งของแทนการถูกเกณฑ์ได้ตามความเหมาะสมหรือตามที่นาย
มูลก้าหนด
3) สตรีและเด็ก ส้าหรับสตรีและเด็กไม่จ้าเป็นต้องถูกเกณฑ์
แรงงานหรือสิ่งของแทนการเกณฑ์แรงงาน ในบัญชีเลกไพร่จะระบุจ้านวน
สตรีและเด็กให้ทราบจ้านวนเท่านั้นว่าสังกัดกองใด มีผู้ใดเป็นนายกอง
บทบาทของสตรีจึงปรากฏออกมาในด้านการทอผ้า ท้านา และประกอบ
อาชีพตามสภาพท้องถิ่น ส่วนเด็กถือได้ว่าจะเป็นเลกไพร่ในโอกาสต่อไป
จึงได้รับการดูแลท้านุบ้ารุงเป็นอย่างดี
4) ภิกษุสามเณร จัดเป็นผู้ที่ได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน
หรือสิ่งของจากเจ้าเมือง กรมการเมือง การบวชจึงเป็นช่องทางของเลกไพร่
ในการหลบหนีการเกณฑ์แรงงานอย่างหนึ่ง แต่การเกณฑ์แรงงานในหัว
เมืองกาฬสินธุ์มิได้รุนแรงเหมือนกับหัวเมืองชั้นใน การหลบหนีไปบวชก็ไม่
ปรากฏมากนัก เป็นการบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามประเพณีเท่านั้น
1 จาก พระราชวงศ์จักรีกับ 200 ปี กาฬสินธุ์ (น. 44), โดย จังหวัดกาฬสินธุ์, 2536,
ยโสธร: จือฮะการพิมพ์ยโสธร.