Page 19 - ประวัติสร้างเมืองกาฬสินธุ์ Kalasin History
P. 19
14 ประวัติศาสตร์การตั้งเมืองกาฬสินธุ์
อำณำเขตของเมืองกำฬสินธุ์
“ตั้งแต่แม่น้ าพองข้างเหนือมาตกชีข้างตะวันตก
ตะวันออกนั้น ตั้งแต่ล าน้ าพองตัดลัดไปห้วยไพรจาร ไปเขา
ทอกศอกดาว ตัดไปบ้านผ้าขาวพรรณาเดิม ยอดล าน้ า
สงครามตกแม่น้ าโขง เขตฝ่ายตะวันออกต่อแดนเมือง
นครพนมและเมืองมุกดาหารผ่านเขาภูพานตัดมาถึงภูเขา
หลักทอดยอดยังยอดยังตกแม่น้ าล าพระชีย์เป็นเขตข้างใต้
ข้างตะวันตกล าน้ าพระชีย์ต่อแดนเมืองร้อยเอ็ดและต่อ
แดนเมืองยโสธร แต่ยังไม่ทันได้เมือง เป็นบ้านสิงห์โคก
1
บ้านสิงห์ท่าอยู่”
การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของชาวลาวที่อพยพเข้ามาสู่ที่ราบสูงโคราช
รวมทั้งกลุ่มเจ้าโสมพะมิตรนั้น ได้อาศัยบริเวณที่มีชุมชนโบราณอยู่เป็นที่ตั้ง
ชุมชนและเลือกชัยภูมิที่มีแหล่งน้้าซึ่งจ้าเป็นต่อการด้ารงชีวิต ตลอดจนการที่
2
เจ้าโสมพะมิตรเลือกตั้งชุมชนที่บริเวณแก่งส้าโรง ดงสงเปือย ด้วยเหตุผลดังนี้
1) ปลอดภัยจากการคุกคาม การเร่งรัดเก็บส่วยจากเวียงจันทน์
เพราะมีเทือกเขาภูพานตั้งขวางอยู่
2) บริเวณแก่งส้าโรง ดงสงเปือย มีแหล่งน้้าอุดมสมบูรณ์ คือ
ล้าน้้าปาว สามารถช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตไพร่พล ตลอดจนการเพาะปลูกซึ่งเป็น
อาชีพหลักของราษฎร
3) สามารถขยายเมืองได้ง่าย เพราะพื้นที่ที่ก้าหนดให้เป็นเขตเมือง
นั้นบริเวณกว้างขวาง กล่าวคือ ทิศตะวันออกจรดเมืองนครพนมและ
เมืองมุกดาหาร ทิศเหนือจรดภูพาน ทิศใต้จดล้าน้้าชีเขตแดนติดต่อเมือง
ร้อยเอ็ดและยโสธร และทิศตะวันตกจรดล้าน้้าพอง ถ้าจะตั้งเมืองบริวารก็
สามารถท้าได้เพราะอาณาเขตของเมืองนั้นมีกว้างขวาง
1 จาก พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์และประวัติเมืองขึ้นในยุคเก่า (น.85), โดย บุญมี ภูเดช,
2525, กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
2 จาก พระราชวงศ์จักรีกับ 200 ปี กาฬสินธุ์ (น. 43), โดย จังหวัดกาฬสินธุ์, 2536,
ยโสธร: จือฮะการพิมพ์ยโสธร.